เมนู

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเองด้วย ชักชวน
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นให้
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเองด้วย
ชักชวนคนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตน
เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ-
ญาณทัสสนะด้วยตนเองด้วยชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย.

4. บุคคล ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีลไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง ไม่
ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น.

อรรถกถาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเป็นต้น


วินิจฉัยในดีว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นต้น. บทว่า
"สีลสมฺปนฺโน" ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมแล้ว คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล. ในบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในคำว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย

ศีลเป็นต้นนั้น ศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งโลกียศีล และ โลกุตตรศีล.
สมาธิและปัญญา ก็เหมือนกัน. วิมุตติ ได้แก่ วิมุตติแห่งอรหัตตผล.
วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ มี 19 อย่าง.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า "โน ปรํ" เป็นต้น ก็บุคคลกล่าวกับผู้อื่น
ว่า แม้ท่านก็สมควรถึงพร้อมด้วยศีล แต่ตนเองสมาทานศีลโดยวิธีใด ย่อม
ไม่ชักชวน ไม่ยังบุคคลอื่นให้ถือเอาโดยวิธีนั้น, ในทุก ๆ บท ก็มีนัยนี้เหมือน
กัน. ก็บรรดาบุคคล 4 จำพวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า บุคคลพวกที่ 1
ย่อมเป็นเช่นกันพระเถระ ชื่อว่า พกุละ. พวกที่ 2 เป็นเช่นกับ พระอุปนันท-
ศากยบุตร
พวกที่ 3 เป็นเช่นกับ พระสารีบุตรเถระ และ พระ-
โมคคัลลานเถระ.
พวกที่ 4 เป็นเช่นกับ พระเทวทัต.

[135] 1. บุคคล ทำตนให้เดือดร้อน ขวนขวายประกอบ
สิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไม่มีอาจาระ บริโภคอุจจาระซึ่ง
ติดที่มือ คนเรียกให้มารับภิกษาไม่มา คนบอกให้หยุดไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขา
รับก่อนแล้วนำมา ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำอุทิศเพื่อตน ไม่รับนิมนต์เขา ไม่รับ
ภิกษาที่เขาคดจากหม้อแล้วก็ให้ ไม่รับจากหม้อข้าวหรือกระเช้า ไม่รับภิกษาที่มี
ธรณีประตูเป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษาที่มีท่อนไม้เป็นระหว่างคั่น ไม่รับภิกษา
ที่มีสากเป็นระหว่างคั้น ไม่รับภิกษาของตนทั้ง 2 ซึ่งกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับ
ภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่ ไม่รับ
ภิกษาของหญิงผู้อยู่ในระหว่างบุรุษ ไม่รับภิกษาในภัตที่เขาทำรวมกันไว้ ไม่

รับภิกษาในที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันอยู่เป็นหมู่ ๆ ไม่รับปลา
เนื้อ ไม่ดื่มสุราเมรัย น้ำส่าหมัก บุคคลผู้นั้นเป็นผู้รับภิกษาในเรือนหลังเดียว
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเพียงคำเดียวบ้าง เป็นผู้รับภิกษาในเรือนสองหลัง
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำบ้าง ฯลฯ เป็นผู้รับภิกษาในเรือนเจ็ดหลัง
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขา
จัดให้เป็นไปด้วยภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ 2 ที่บ้าง ฯลฯ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
ภิกษาอันเขาจัดไว้ให้ 7 ที่บ้าง ย่อมบริโภคอาหารวันละ 1 ครั้งบ้าง. ย่อมบริ-
โภคอาหารสองวันต่อครั้งบ้าง ฯลฯ ย่อมบริโภคอาหารเจ็ดวันต่อครั้งบ้าง เป็น
ผู้ขวนขวายประกอบในการบริโภคอาหารโดยปริยาย กึ่งเดือนต่อครั้งบ้าง เห็น
ปานนี้อยู่ด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีผักเป็นภักษาบ้างเป็นผู้มีข้าวฟ่าง
เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีเศษหนังเป็นภักษาบ้าง
เป็นผู้มียางไม้เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีปลายข้าวเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีข้าวตัง
เป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีน้ำข้าวเป็นภักษาบ้าง เป็นผู้มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง เป็น
ผู้มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยมูลผลาหารในป่า มีปกติบริโภค
ผลไม้ที่หล่นแล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมครองผ้าป่านบ้าง ย่อมครองผ้าเจือป่านบ้าง
ย่อมครองผ้าที่เขาทิ้งจากซากศพบ้าง ย่อมครองผ้าบังสุกุลบ้าง ย่อมครองผ้า
เปลือกไม้บ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือบ้าง ย่อมครองผ้าหนังเสือผ่ากลางบ้าง
ย่อมครองผ้าคากรองบ้าง ย่อมครองผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ย่อมครองผ้าผลไม้
กรองบ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์บ้าง ย่อมครองผ้ากัมพลที่ทำ
ด้วยหนังสัตว์ร้ายบ้าง ย่อมครองผ้าที่ทำด้วยปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและ
หนวด ขวนขวายประกอบในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนอยู่โดยไม่
ต้องการที่นั่งบ้าง เป็นผู้นั่งกระโหย่งประกอบความเพียรในการนั่งกระโหย่งบ้าง

เป็นผู้ทำการยืนและจงกรมเป็นต้นบนเหล็กแหลม สำเร็จการนอนบนเหล็กแหลม
นั้นบ้าง เป็นผู้ขวนขวายประกอบความเพียรในการลงน้ำลอยบาป มีเวลาเย็น
เป็นครั้งที่ 3 อยู่บ้าง เป็นผู้ขวนขวายประกอบในการยังกายให้ร้อนทั่วและให้
ร้อนรอบ มีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า
ทำคนให้เดือดร้อนและขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน.

2. บุคคล ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ขวนขวายประกอบ
สิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าเนื้อ ฆ่านก เป็น
พราน เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นโจรผู้ฆ่าคน เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้
รักษาเรือนจำ ก็หรือว่าบุคคลบางพวกแม้เหล่าอื่นผู้มีการงานอันทารุณ บุคคล
อย่างนี้ชื่อว่า ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

3. บุคคล ทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประ-
กอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและขวนขวาย
ประกอบสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นกษัตริย์ผู้พระราชาได้รับมุรธาภิเษกแล้ว
หรือเป็นพราหมณมหาศาล บุคคลนั้นให้สร้างสันถาคารมใหม่สำหรับพระนคร
ด้านทิศบูรพา ปลงผมและหนวด นุ่งห่มหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ ทากายด้วย
เนยใสและน้ำมัน เกาหลังด้วยเขาเนื้อเข้าไปสู่สันถาคารพร้อมเหสีและ
พราหมณ์ปุโรหิต ผู้นั้นย่อมสำเร็จการนอนในที่นั้น บนพื้นปราศจากเครื่องลาด
ซึ่งบุคคลเข้าไปฉาบทาด้วยของเขียว พระราชาย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย

น้ำนมในนมเต้าที่หนึ่งของแม่โคนั้นซึ่งมีลูกเช่นกับแม่ (คือแม่ขาวลูกก็ขาวแม่
แดงลูกก็แดง) พระมเหสีย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สองนั้น
พราหมณ์ปุโรหิตย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สามนั้น ย่อมบูชา
ไฟด้วยน้ำนมในนมเต้าที่สี่นั้น ลูกโคย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ
พระราชานั้นตรัสแล้วอย่างนี้ว่า พวกท่านจงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้เพื่อบูชา
ยัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ ตัวเมียประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ
จงฆ่าแพะประมาณเท่านี้ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณ
เท่านี้เพื่อบูชายัญ จงตัดไม้ประมาณเท่านี้เพื่อปลูกโรงพิธี จงเกี่ยวแฝกประมาณ
เท่านี้เพื่อประโยชน์แก่การทำเครื่องแวดล้อม แม้คนเหล่าใดเป็นทาส เป็นคนใช้
หรือเป็นกรรมกรของพระราชานั้น แม้คนเหล่านั้นก็ถูกอาญาคุกคามแล้ว ถูกภัย
คุกคามแล้ว มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ย่อมต้องทำการงานรอบข้างทั้งหลาย
บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำตน
ให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน.
4. บุคคล ที่ไม่ทำตนให้เดือนร้อน และไม่ขวน-
ขวายประกอบสิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และ
ไม่ขวนขวายประกอบสิ่งที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน ?

บุคคลนั้น ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มี
ตัณหา ดับกิเลสได้แล้ว เป็นผู้เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ใน
ทิฏฐธรรม พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ พระองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัส
รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้โลก เป็นสารถี

ฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นผู้มีโชค พระองค์ทรงทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม-
โลก สมณพราหมณ์ ประชาชนพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะรู้ยิ่งด้วยพระองค์
เองแล้วทรงประกาศ พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่าม
กลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง คหบดีหรือบุตรแห่งคหบดี หรือผู้ที่เกิดเฉพาะแล้วในตระกูล
ใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ผู้นั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ย่อมได้ความเลื่อม
ใสในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งความเลื่อมใสนั้น ย่อม
พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชามีโอกาส
ดียิ่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เช่นกับสังข์ที่ขัดดีแล้วเป็นของทำได้ยาก ถ้ากระไร
แล้ว เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ผู้ไม่มีเรือนดังนี้ โดยสมัยอื่นเขาละกองแห่งโภคะน้อยหรือมาก ละเครือญาติ
น้อยหรือมาก ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวะออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ผู้นั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพรอ้มด้วยสิกขาสาชีพของ
ภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง
ศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่
ปวงสัตว์อยู่ ละการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่
เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่
ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ มีความประพฤติห่าง
ไกลจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจ
ของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์

เป็นนิจ มีถ้อยคำมั่นคง ไม่พูดพล่อย ไม่พูดลวงโลก ละคำพูดส่อเสียด ฟัง
ข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังข้างโน้นแล้ว
ไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง
ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในความ
พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในหมู่คนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คน
พร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบเว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะ
หู เป็นที่ตั้งแห่งความรัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนf
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ผู้นั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืช-
คาม และภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันใน
เวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็น
ข้าศึกต่อพระศาสนา เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอก
ไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นที่ตั้งแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจาก
การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน สูงและใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้น
ขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับ
สตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาสา เว้นขาดจากการรับแพะและ
แกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง ม้า ลา เว้นขาด
จากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้น
ขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากโกงด้วยเครื่องตวงเครื่องวัด เว้นขาดจากการคด
โกงโดยการรับสินบน โดยการหลอกลวง โดยการทำของเทียมของปลอม เว้น
ขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอเป็น

ผู้ยินดีด้วยจีวรสำหรับบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง เธอย่อม
ถือเอาเพียงบริขาร 8 เท่านั้น แล้วหลีกไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป นกมีซึ่ง.
ปีก มีภาระเพียงปีกของตนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมบินไปตามทิศที่ตนประสงค์
จะไป ชื่อแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยินดีด้วยจีวรสำหรับบริหารกาย
ด้วยบิณฑบาตสำหรับบริหารท้อง ย่อมถือเอาเพียงบริขาร 8 เท่านั้นแล้วหลีก
ไปโดยทิศที่ตนปรารถนาจะไป เธอประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้
ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งสุขอันหาโทษมิได้ในภายใน เธอเห็นรูปด้วยตา ไม่เป็นผู้ถือ
เอาซึ่งนิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือจักษุนี้อยู่
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์
คือจักษุนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์ คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ
จักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่ง
นิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือใจนี้อยู่
เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์ คือใจใด ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ คือใจนั้น
ย่อมรักษาอินทรีย์ คือใจนั้น ย่อมถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือใจนั้น เธอ
ประกอบแล้วด้วยอินทรีย์สังวรอันประเสริฐนี้ ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความสุขอัน
สรรพกิเลสรั่วรดไม่ได้ เธอย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการก้าวไป ในการถอย
กลับ ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการแลไปข้างหน้าและเหลียวไปข้าง ๆ ย่อม
ทำความรู้ทั่วพร้อมในการคู้เข้าเหยียดออก ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการทรง
สังฆาฏิบาตร และจีวร ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม

ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้ทั่วพร้อมใน
การเดินไป ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ใน
การนิ่ง เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันประเสริฐนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร
อันประเสริฐนี้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันประเสริฐนี้ และประกอบด้วย
ความสันโดษอันประเสริฐนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำในเขา ป่าช้า ป่าดง กลางแจ้ง กองฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังภัตร นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาใน
โลกเสียได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากอภิชฌา ละความขัด
เคือง คือ พยาบาทแล้วมีจิตไม่เบียดเบียน มีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อยู่ ยังจิตให้ผ่องใสจากความขัดเคือง คือพยาบาท ละถีน-
มิทธะ เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีสัญญาในแสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ
ยังจิตให้ผ่องใสจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอยู่ ผู้
มีจิตสงบระงับในภายใน ยังจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา มี
วิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ไม่มีการกล่าวว่าอย่างไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ยัง
จิตให้ผ่องใสจากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ห้าเหล่านั้นได้แล้ว สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุข
อันเกิดแต่วิเวก สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร เข้า
ทุติยฌานอันยังใจให้ผ่องใส เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายในไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ สำเร็จอิริยาบถอยู่ เพราะเบื่อหน่ายปีติ เป็น
ผู้มีจิตเป็นอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยกาย เข้าตติยฌาน
มีนัยอันพระอริยะทั้งหลายกล่าวว่าเป็นผู้มีจิตอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ สำเร็จ
อิริยาบถอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัส

ในก่อนเทียว เข้าจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์เกิดแต่อุเบกขา
สำเร็จอิริยาบถอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ
จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นแล้วถึงความไม่หวั่น
ไหวแล้วดังนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึก
ชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก นี้คืออย่างไร คือ หนึ่งชาติบ้าง สอง
ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏะกัปเป็น
อันมากบ้างว่า ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีวรรณะอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น
เขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นก็มีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุ
เพียงเท่านั้น ครั้นเขาจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง
ชาติที่เคยเกิดในก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-
จากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
แล้วอย่างนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อม
เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุแห่งมนุษย์ ย่อมรู้
ชัดซึ่งหมู่มนุษย์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจี-
ทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วย
อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์

เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้าเป็น
สัมมาทิฏฐิ ยึดถือเอาการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ ดังนี้เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ประณีตมีผิวพรรณ
ดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่
การงานตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ เธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวัก-
ขยญาณย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ
นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอ
รู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
สิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี บุคคลอย่างนี้ชื่อว่าไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ขวนขวายประกอบ
สิ่งที่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และไม่ขวนขวายประกอบสิ่ง
ที่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน. บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
นั้น เป็นผู้ไม่มีความปรารถนา เป็นผู้มีกิเลสอันดับแล้ว เป็นผู้เย็นแล้ว ย่อม
เป็นผู้เสวยความสุข สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมด้วยคนอันประเสริฐ.

อรรถกถาบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นต้น


บุคคลใด ย่อมทรมานตน คือย่อมทำคนให้ถึงความทุกข์ เพราะ
เหตุนั้นบุคคลนั้น จึงชื่อว่า อตฺตนฺตโป แปลว่า ผู้ทำตนให้เร่าร้อน. การ
ประกอบตามในการยังตน ให้เร่าร้อน ชื่อว่า อตฺตปริตาปนานุโยคํ.